หัวใจพระพุทธศาสนา
๙
พระสูตร ปฐมโพธิกาล
ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเมื่อ
๒๖๐๐ ปีที่แล้ว
เรียบเรียงโดย
: หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
บทที่ ๑
อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปปาทปาฐะ
พระไตรปิฎก เล่มที่
๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรคสังยุต
นิทานสังยุต ๒.
อาหารวรรค
ปัจจยสูตรที่ ๑๐
บทนำ
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชาที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา
หลังจากบรรพชาแล้วทรงเข้าไปศึกษากับอาฬารดาบส และอุทกดาบสแต่ยังพบว่ามิใช่หนทางตรัสรู้
จึงทรงปฏิบัติตามความนิยมสมัยนั้นคือการบำเพ็ญทุกกรกิริยาด้วยการทรมาน ตนให้ได้รับความลำบากเพื่อหวังปลดเปลื้องกิเลสเป็นเวลาถึง
๖ ปี จนแทบจะสิ้นพระชนม์ สุดท้ายทรงพบว่าการทรมานตน ก็ยังไม่ใช่หนทางตรัสรู้
ระหว่างที่ทรงทรมานตนนี้มีนักบวช ปัญจวัคคีย์มาอยู่คอยปรนนิบัติ
เมื่อทรงเลิกการบำเพ็ญทุกกรกิริยาปัญจวัคคีย์ก็หลีกหนีไป พระองค์จึงทรงมีเวลาใคร่ครวญ
และพิจารณาธรรมอย่างสงบตามลำพัง พระองค์ได้ทรงตั้งพระสติและเดินทางสายกลาง คือ
การปฏิบัติในความพอเหมาะ พอควร ในตอนเช้าวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี
พระมหาบุรุษประทับที่โคนต้นไทรด้วยอาการสงบ นางสุชาดา คิดว่าเป็นเทวดาจึงถวายข้าวมธุปายาส
ทรงฉันแล้วเสด็จไปริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตอนเย็นวันนั้นเองพระองค์ ได้กลับมายังต้นโพธิ์
พบคนหาบหญ้าชื่อโสตถิยะ คนหาบหญ้าได้ถวายหญ้า ๘ กำมือ ให้พระองค์ปูลาดเป็นอาสนะ ณ
ใต้ต้นโพธิ์ แล้วประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า “แม้เลือดในกายของเราจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตาม
ถ้ายังไม่พบโพธิญาณแล้วจะไม่ยอมหยุดความเพียรโดยลุกจากที่นี้เป็นอันขาด”
เมื่อทรงตั้งจิตอธิษฐานแล้ว พระองค์ก็ทรงสำรวมจิตให้สงบแน่วแน่
พระองค์เริ่มบำเพ็ญเพียรทางจิต และในที่สุด ทรงชนะความลังเลพระทัยจิตพ้นจากกิเลสทั้งปวง
ตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ในวันเพ็ญ เดือน ๖
วิสาขมาส ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้น คือ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท
อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปปาทปาฐะ
(หันทะ มะยัง
ปะฏิจจะสะมุปปาทะธัมเมสุ
อิทัปปัจจะยะตาทิธัมมะปาฐัง
ภะณามะ เส.)
เชิญเถิด
เราทั้งหลาย จงกล่าวธัมมปาฐะเรื่องกฎอิทัปปัจจยตา
ในปฏิจจสมุปบาทธรรมทั้งหลาย
เป็นต้นเถิด
กะตะโม จะ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไรเล่า ?
(๑) ชาติปัจจะยา ภิกขะเว ชะรามะระณัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะชาติเป็นปัจจัย,
ชรามรณะย่อมมี.
* อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง,
อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย, จะบังเกิดขึ้น ก็ตาม,
จะไม่บังเกิดขึ้น ก็ตาม,
จะไม่บังเกิดขึ้น ก็ตาม,
ฐิตาวะ สา ธาตุ,
ธรรมธาตุนั้น
ย่อมตั้งอยู่แล้ว นั่นเทียว,
ธัมมัฏฐิตะตา,
คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา,
ธัมมะนิยามะตา,
คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา,
อิทัปปัจจะยะตา,
คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้
เป็นปัจจัย,
สิ่งนี้สิ่งนี้ จึงเกิดขึ้น.
ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ,
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ
ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ,
ซึ่งธรรมธาตุนั้น,
อะภิสัมพุชฌิต๎วา อะภิสะเมต๎วา,
ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว
ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว,
อาจิกขะติ เทเสติ,
ย่อมบอก
ย่อมแสดง,
ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ,
ย่อมบัญญัติ
ย่อมตั้งขึ้นไว้,
วิวะระติ วิภะชะติ,
ย่อมเปิดเผย
ย่อมจำแนกแจกแจง,
อุตตานีกะโรติ,
ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ,
ปัสสะถาติ จาหะ, ชาติปัจจะยา
ภิกขะเว ชะรามะระณัง,
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู,
เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ ย่อมมี.
เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ ย่อมมี.
** อิติ โข ภิกขะเว,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุดังนี้แล,
ยา ตัต๎ระ ตะถะตา,
ธรรมธาตุใด
ในกรณีนั้น,
อันเป็น ตถตา, คือความเป็น อย่างนั้น,
อะวิตะถะตา,
เป็น
อวิตถตา,
คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น,
อะนัญญะถะตา,
เป็น
อนัญญถตา,
คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,
อิทัปปัจจะยะตา,
เป็น
อิทัปปัจจยตา,
คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้สิ่งนี้
จึงเกิดขึ้น.
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท,
(คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ
อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).
(๒) ภะวะปัจจะยา ภิกขะเว ชาติ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะภพเป็นปัจจัย, ชาติย่อมมี. ....(*)
ปัสสะถาติ จาหะ, ภะวะปัจจะยา
ภิกขะเว ชาติ,
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู,
เพราะภพเป็นปัจจัย, ชาติย่อมมี. ....(**)
เพราะภพเป็นปัจจัย, ชาติย่อมมี. ....(**)
(๓) อุปาทานะปัจจะยา ภิกขะเว ภะโว,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย, ภพย่อมมี. ....(*)
ปัสสะถาติ จาหะ, อุปาทานะปัจจะยา
ภิกขะเว ภะโว,
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู,
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย, ภพย่อมมี. ....(**)
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย, ภพย่อมมี. ....(**)
(๔) ตัณหาปัจจะยา ภิกขะเว อุปาทานัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะตัณหาเป็นปัจจัย, อุปาทานย่อมมี. ....(*)
ปัสสะถาติ จาหะ, ตัณหาปัจจะยา
ภิกขะเว อุปาทานัง,
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู,
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย, อุปาทานย่อมมี. ....(**)
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย, อุปาทานย่อมมี. ....(**)
(๕) เวทะนาปัจจะยา ภิกขะเว ตัณหา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเวทนาเป็นปัจจัย, ตัณหาย่อมมี. ....(*)
ปัสสะถาติ จาหะ, เวทะนาปัจจะยา
ภิกขะเว ตัณหา,
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู,
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย, ตัณหาย่อมมี. ....(**)
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย, ตัณหาย่อมมี. ....(**)
(๖) ผัสสะปัจจะยา ภิกขะเว เวทะนา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะผัสสะเป็นปัจจัย, เวทนาย่อมมี. ....(*)
ปัสสะถาติ จาหะ, ผัสสะปัจจะยา
ภิกขะเว เวทะนา,
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู,
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาย่อมมี. ....(**)
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาย่อมมี. ....(**)
(๗) สะฬายะตะนะปัจจะยา ภิกขะเว ผัสโส,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย, ผัสสะย่อมมี. ....(*)
ปัสสะถาติ จาหะ, สะฬายะตะนะปัจจะยา
ภิกขะเว ผัสโส,
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู,
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย, ผัสสะย่อมมี. ....(**)
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย, ผัสสะย่อมมี. ....(**)
(๘) นามะรูปะปัจจะยา ภิกขะเว สะฬายะตะนัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะนามรูปเป็นปัจจัย, สฬายตนะย่อมมี. ....(*)
ปัสสะถาติ จาหะ, นามะรูปะปัจจะยา
ภิกขะเว สะฬายะตะนัง,
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู,
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย, สฬายตนะย่อมมี. ....(**)
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย, สฬายตนะย่อมมี. ....(**)
(๙) วิญญาณะปัจจะยา ภิกขะเว นามะรูปัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย, นามรูปย่อมมี. ....(*)
ปัสสะถาติ จาหะ, วิญญาณะปัจจะยา
ภิกขะเว นามะรูปัง,
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู,
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย, นามรูปย่อมมี. ....(**)
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย, นามรูปย่อมมี. ....(**)
(๑๐) สังขาระปัจจะยา ภิกขะเว วิญญาณัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะสังขารเป็นปัจจัย, วิญญาณย่อมมี. ....(*)
ปัสสะถาติ จาหะ, สังขาระปัจจะยา
ภิกขะเว วิญญาณัง,
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู,
เพราะสังขารเป็นปัจจัย, วิญญาณย่อมมี. ....(**)
เพราะสังขารเป็นปัจจัย, วิญญาณย่อมมี. ....(**)
(๑๑) อะวิชชาปัจจะยา ภิกขะเว สังขารา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย, สังขารทั้งหลายย่อมมี.
อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง,
อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย,เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย, จะบังเกิดขึ้น ก็ตาม,
จะไม่บังเกิดขึ้น ก็ตาม,
จะไม่บังเกิดขึ้น ก็ตาม,
ฐิตาวะ สา ธาตุ,
ธรรมธาตุนั้น
ย่อมตั้งอยู่แล้ว นั่นเทียว,
ธัมมัฏฐิตะตา,
คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา,
ธัมมะนิยามะตา,
คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา,
อิทัปปัจจะยะตา,
คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้
เป็นปัจจัย,
สิ่งนี้สิ่งนี้ จึงเกิดขึ้น.
ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ,
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ
ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ,
ซึ่งธรรมธาตุนั้น,
อะภิสัมพุชฌิต๎วา อะภิสะเมต๎วา,
ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว
ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว,
อาจิกขะติ เทเสติ,
ย่อมบอก
ย่อมแสดง,
ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ,
ย่อมบัญญัติ
ย่อมตั้งขึ้นไว้,
วิวะระติ วิภะชะติ,
ย่อมเปิดเผย
ย่อมจำแนกแจกแจง,
อุตตานีกะโรติ,
ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ,
ปัสสะถาติ จาหะ, อะวิชชาปัจจะยา
ภิกขะเว สังขารา,
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย,ท่านทั้งหลายจงมาด,ู
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย, สังขารทั้งหลายย่อมมี.
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย, สังขารทั้งหลายย่อมมี.
อิติ โข ภิกขะเว,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุดังนี้แล,
ยา ตัต๎ระ ตะถะตา,
ธรรมธาตุใด
ในกรณีนั้น,
อันเป็น ตถตา, คือความเป็นอย่างนั้น,
อะวิตะถะตา,
เป็น
อวิตถตา,
คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น,
อะนัญญะถะตา
เป็น
อนัญญถตา,
คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,
อิทัปปัจจะยะตา,
เป็น
อิทัปปัจจยตา,
คือความที่เมื่อสิ่งนี้สิ่งนี้ เป็นปัจจัย,สิ่งนี้สิ่งนี้
จึงเกิดขึ้น.
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท,
(คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ
อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น),
อิติ.
ดังนี้แล.
(หมายเหตุ)
เมื่อต้องการสวดเต็ม ข้อที่ ๑ สวดเต็มอย่างไร
ข้อที่
(๒)-(๑๐) ก็สวดเต็มอย่างนั้น แต่สำหรับ
ข้อ
(๑๑) นั้น พิมพ์ไว้เต็มอย่างข้อที่ (๑) แล้ว
พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ การเกิดขึ้นของชาติ ภพ
การเวียนว่ายตายเกิด
และวิธีการตัดชาติ ภพ
เพราะความที่เมื่อมีปัจจัย ผลจึงเกิดขึ้น, เมื่อมีสิ่งหนึ่ง ย่อมมีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น เมื่อมีชาติ ภพ จึงเกิดสังสารวัฎ อันมีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย
สงสารวัฏ หมายถึงการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพภูมิต่างๆ ของสัตว์โลก ด้วยอำนาจของกิเลส กรมมวิบาก ซึ่งหมุนวนอยู่เช่นนั้นตราบเท่าที่ยังตัดกิเลส กรมวิบากไม่ได้
สงสารวัฏ หมายถึงการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพภูมิต่างๆ ของสัตว์โลก ด้วยอำนาจของกิเลส กรมมวิบาก ซึ่งหมุนวนอยู่เช่นนั้นตราบเท่าที่ยังตัดกิเลส กรมวิบากไม่ได้
ด้วยเหตุนี้แล้วจึงมี เจ้ากรรมนายเวร มีกฎแห่งกรรม
ดังนั้นแล้ว หากมนุษย์ต้องการหลุดพ้นจากการเวียนว่าย ตาย
เกิด และเจ้ากรรมนายเวร จะต้องขจัดอวิชชา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น
อวิชชา
ที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ ก็คือ กิเลส
ตัณหา