วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

๙ พระสูตร ปฐมโพธิกาล บทที่ ๑


หัวใจพระพุทธศาสนา
๙ พระสูตร ปฐมโพธิกาล
ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเมื่อ ๒๖๐๐ ปีที่แล้ว
เรียบเรียงโดย :  หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ


  
บทที่ ๑
อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปปาทปาฐะ
พระไตรปิฎก  เล่มที่  ๑๖  พระสุตตันตปิฎก  เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย  นิทานวรรคสังยุต
นิทานสังยุต ๒. อาหารวรรค
ปัจจยสูตรที่  ๑๐


บทนำ
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชาที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา หลังจากบรรพชาแล้วทรงเข้าไปศึกษากับอาฬารดาบส และอุทกดาบสแต่ยังพบว่ามิใช่หนทางตรัสรู้ จึงทรงปฏิบัติตามความนิยมสมัยนั้นคือการบำเพ็ญทุกกรกิริยาด้วยการทรมาน ตนให้ได้รับความลำบากเพื่อหวังปลดเปลื้องกิเลสเป็นเวลาถึง ๖ ปี จนแทบจะสิ้นพระชนม์ สุดท้ายทรงพบว่าการทรมานตน ก็ยังไม่ใช่หนทางตรัสรู้ ระหว่างที่ทรงทรมานตนนี้มีนักบวช ปัญจวัคคีย์มาอยู่คอยปรนนิบัติ เมื่อทรงเลิกการบำเพ็ญทุกกรกิริยาปัญจวัคคีย์ก็หลีกหนีไป พระองค์จึงทรงมีเวลาใคร่ครวญ และพิจารณาธรรมอย่างสงบตามลำพัง พระองค์ได้ทรงตั้งพระสติและเดินทางสายกลาง คือ การปฏิบัติในความพอเหมาะ พอควร ในตอนเช้าวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี พระมหาบุรุษประทับที่โคนต้นไทรด้วยอาการสงบ นางสุชาดา คิดว่าเป็นเทวดาจึงถวายข้าวมธุปายาส  ทรงฉันแล้วเสด็จไปริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา  ตอนเย็นวันนั้นเองพระองค์ ได้กลับมายังต้นโพธิ์ พบคนหาบหญ้าชื่อโสตถิยะ คนหาบหญ้าได้ถวายหญ้า ๘ กำมือ ให้พระองค์ปูลาดเป็นอาสนะ ณ ใต้ต้นโพธิ์ แล้วประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า แม้เลือดในกายของเราจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตาม ถ้ายังไม่พบโพธิญาณแล้วจะไม่ยอมหยุดความเพียรโดยลุกจากที่นี้เป็นอันขาด เมื่อทรงตั้งจิตอธิษฐานแล้ว พระองค์ก็ทรงสำรวมจิตให้สงบแน่วแน่ พระองค์เริ่มบำเพ็ญเพียรทางจิต และในที่สุด ทรงชนะความลังเลพระทัยจิตพ้นจากกิเลสทั้งปวง ตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ในวันเพ็ญ เดือน ๖ วิสาขมาส ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้น คือ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท



อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปปาทปาฐะ
(หันทะ มะยัง ปะฏิจจะสะมุปปาทะธัมเมสุ
อิทัปปัจจะยะตาทิธัมมะปาฐัง ภะณามะ เส.)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวธัมมปาฐะเรื่องกฎอิทัปปัจจยตา
ในปฏิจจสมุปบาทธรรมทั้งหลาย เป็นต้นเถิด

กะตะโม จะ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไรเล่า ?
(๑) ชาติปัจจะยา ภิกขะเว ชะรามะระณัง,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะย่อมมี.
* อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง, อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย, จะบังเกิดขึ้น ก็ตาม
    จะไม่บังเกิดขึ้น ก็ตาม,
ฐิตาวะ สา ธาตุ,
    ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้ว นั่นเทียว,
ธัมมัฏฐิตะตา,
    คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา,
ธัมมะนิยามะตา,
    คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา,
อิทัปปัจจะยะตา,
    คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้สิ่งนี้ จึงเกิดขึ้น.
ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ,
    ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ, ซึ่งธรรมธาตุนั้น,
อะภิสัมพุชฌิต๎วา อะภิสะเมต๎วา,
    ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว,
อาจิกขะติ เทเสติ,
    ย่อมบอก ย่อมแสดง,
ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ,
    ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้,
วิวะระติ วิภะชะติ,
    ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง,
อุตตานีกะโรติ,
    ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ,
ปัสสะถาติ จาหะ, ชาติปัจจะยา ภิกขะเว ชะรามะระณัง,
    และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู
    เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ ย่อมมี.
** อิติ โข ภิกขะเว,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุดังนี้แล,
ยา ตัต๎ระ ตะถะตา,
    ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น, อันเป็น ตถตา, คือความเป็น อย่างนั้น,
อะวิตะถะตา,
    เป็น อวิตถตา, คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น,
อะนัญญะถะตา,
    เป็น อนัญญถตา, คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,
อิทัปปัจจะยะตา,
    เป็น อิทัปปัจจยตา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้สิ่งนี้ จึงเกิดขึ้น.
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท,
    (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).

(๒) ภะวะปัจจะยา ภิกขะเว ชาติ,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะภพเป็นปัจจัย, ชาติย่อมมี. ....(*)
ปัสสะถาติ จาหะ, ภะวะปัจจะยา ภิกขะเว ชาติ,
    และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู
    เพราะภพเป็นปัจจัย,  ชาติย่อมมี. ....(**)

(๓) อุปาทานะปัจจะยา ภิกขะเว ภะโว,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย, ภพย่อมมี. ....(*)
ปัสสะถาติ จาหะ, อุปาทานะปัจจะยา ภิกขะเว ภะโว,
    และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย,  ภพย่อมมี. ....(**)

(๔) ตัณหาปัจจะยา ภิกขะเว อุปาทานัง,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะตัณหาเป็นปัจจัย, อุปาทานย่อมมี. ....(*)
ปัสสะถาติ จาหะ, ตัณหาปัจจะยา ภิกขะเว อุปาทานัง,
    และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย,  อุปาทานย่อมมี. ....(**)

(๕) เวทะนาปัจจะยา ภิกขะเว ตัณหา,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเวทนาเป็นปัจจัย, ตัณหาย่อมมี. ....(*)
ปัสสะถาติ จาหะ, เวทะนาปัจจะยา ภิกขะเว ตัณหา,
    และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย, ตัณหาย่อมมี. ....(**)

(๖) ผัสสะปัจจะยา ภิกขะเว เวทะนา,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะผัสสะเป็นปัจจัย, เวทนาย่อมมี. ....(*)
ปัสสะถาติ จาหะ, ผัสสะปัจจะยา ภิกขะเว เวทะนา,
    และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาย่อมมี. ....(**)

(๗) สะฬายะตะนะปัจจะยา ภิกขะเว ผัสโส,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย, ผัสสะย่อมมี. ....(*)
ปัสสะถาติ จาหะ, สะฬายะตะนะปัจจะยา ภิกขะเว ผัสโส,
    และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย, ผัสสะย่อมมี. ....(**)

(๘) นามะรูปะปัจจะยา ภิกขะเว สะฬายะตะนัง,
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะนามรูปเป็นปัจจัย, สฬายตนะย่อมมี. ....(*)
ปัสสะถาติ จาหะ, นามะรูปะปัจจะยา ภิกขะเว สะฬายะตะนัง,
    และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย,  สฬายตนะย่อมมี. ....(**)

(๙) วิญญาณะปัจจะยา ภิกขะเว นามะรูปัง,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย, นามรูปย่อมมี. ....(*)
ปัสสะถาติ จาหะ, วิญญาณะปัจจะยา ภิกขะเว นามะรูปัง,
    และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย,  นามรูปย่อมมี. ....(**)

(๑๐) สังขาระปัจจะยา ภิกขะเว วิญญาณัง,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะสังขารเป็นปัจจัย, วิญญาณย่อมมี. ....(*)
ปัสสะถาติ จาหะ, สังขาระปัจจะยา ภิกขะเว วิญญาณัง,
    และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจงมาดู
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย,  วิญญาณย่อมมี. ....(**)

(๑๑) อะวิชชาปัจจะยา ภิกขะเว สังขารา,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย, สังขารทั้งหลายย่อมมี.
อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง, อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย,เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย, จะบังเกิดขึ้น ก็ตาม
    จะไม่บังเกิดขึ้น ก็ตาม,
ฐิตาวะ สา ธาตุ,
    ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้ว นั่นเทียว,
ธัมมัฏฐิตะตา,
    คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา,
ธัมมะนิยามะตา,
    คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา,
อิทัปปัจจะยะตา,
    คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้สิ่งนี้ จึงเกิดขึ้น.
ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ,
    ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ, ซึ่งธรรมธาตุนั้น,
อะภิสัมพุชฌิต๎วา อะภิสะเมต๎วา,
    ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว,
อาจิกขะติ เทเสติ,
    ย่อมบอก ย่อมแสดง,
ปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ,
    ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้,
วิวะระติ วิภะชะติ,
    ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง,
อุตตานีกะโรติ,
    ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ,
ปัสสะถาติ จาหะ, อะวิชชาปัจจะยา ภิกขะเว สังขารา,
    และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย,ท่านทั้งหลายจงมาด,ู 
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย,  สังขารทั้งหลายย่อมมี.
อิติ โข ภิกขะเว,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เพราะเหตุดังนี้แล,
ยา ตัต๎ระ ตะถะตา,
    ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น, อันเป็น ตถตา, คือความเป็นอย่างนั้น,
อะวิตะถะตา,
    เป็น อวิตถตา, คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น,
อะนัญญะถะตา
    เป็น อนัญญถตา, คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,
อิทัปปัจจะยะตา,
    เป็น อิทัปปัจจยตา, คือความที่เมื่อสิ่งนี้สิ่งนี้ เป็นปัจจัย,สิ่งนี้สิ่งนี้ จึงเกิดขึ้น.
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปะฏิจจะสะมุปปาโท,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท,
    (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น),
อิติ.
    ดังนี้แล.



(หมายเหตุ) เมื่อต้องการสวดเต็ม ข้อที่ ๑ สวดเต็มอย่างไร
ข้อที่ (๒)-(๑๐) ก็สวดเต็มอย่างนั้น แต่สำหรับ
ข้อ (๑๑) นั้น พิมพ์ไว้เต็มอย่างข้อที่ (๑) แล้ว



          พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้  การเกิดขึ้นของชาติ  ภพ  การเวียนว่ายตายเกิด  และวิธีการตัดชาติ ภพ 
          เพราะความที่เมื่อมีปัจจัย  ผลจึงเกิดขึ้น,  เมื่อมีสิ่งหนึ่ง  ย่อมมีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น  เมื่อมีชาติ ภพ  จึงเกิดสังสารวัฎ  อันมีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย 
          สงสารวัฏ หมายถึงการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพภูมิต่างๆ ของสัตว์โลก  ด้วยอำนาจของกิเลส กรมมวิบาก ซึ่งหมุนวนอยู่เช่นนั้นตราบเท่าที่ยังตัดกิเลส กรมวิบากไม่ได้

ด้วยเหตุนี้แล้วจึงมี เจ้ากรรมนายเวร  มีกฎแห่งกรรม  ดังนั้นแล้ว หากมนุษย์ต้องการหลุดพ้นจากการเวียนว่าย  ตาย  เกิด และเจ้ากรรมนายเวร  จะต้องขจัดอวิชชา  ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น

          อวิชชา  ที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ  ก็คือ  กิเลส  ตัณหา




















๙ พระสูตร ปฐมโพธิกาล บทที่ ๒


บทที่ ๒
ปฐมพุทธภาสิตคาถา
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
คาถาธรรมบท ชราวรรคที่ ๑๑
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ชราวรรคที่ ๑๑
อรรถกถา ๘. เรื่องปฐมโพธิกาล



บทนำ
เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้หมดกิเลสอาสวะทั้งปวงใน เวลาก่อนรุ่งอรุณ ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา แคว้นมคธ ทรงเปล่งอุทานเย้ยตัณหาด้วยความ เบิกบานพระทัย เป็นพระคาถาว่า อเนกชาติ สํสารํ......ตณฺ หานํขยมชฺฌคาต่อมาพระอานนท์ทูลถาม จึงทรงตรัสเล่าให้ พระอานนท์ฟังอีกครั้ง.

ปฐมพุทธภาสิตคาถา
(หันทะ มะยัง ปะฐะมะพุทธะภาสิตะคาถาโย ภะณามะ เส.)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาปฐมพุทธภาษิตเถิด

อะเนกะชาติสังสารัง สันธาวิสสัง อะนิพพิสัง,
      เมื่อเรายังไม่พบญาณ ได้แล่นท่องเที่ยวไปในสงสาร เป็นอเนกชาติ;
คะหะการัง คะเวสันโต ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนัง,
     แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน, คือตัณหาผู้สร้างภพ; การเกิดทุกคราว เป็นทุกข์ร่ำไป.
คะหะการะกะ ทิฏโฐสิ ปุนะ เคหัง นะ กาหะสิ,
      นี่แน่ะ นายช่างปลูกเรือน! เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว; เจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป.
สัพพา เต ผาสุกา ภัคคา คะหะกูฏัง วิสังขะตัง,
      โครงเรือนทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว; ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว;
วิสังขาระคะตัง จิตตัง ตัณ๎หานัง ขะยะมัชฌะคา.
      จิตของเราถึงแล้วซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป;
      มันได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา (คือ ถึงนิพพาน).



          พระพุทธเจ้าทรงพบกิเลส ตัณหา  ผู้เป็นต้นเหตุแห่งการเกิด ชาติ ภพ และพระองค์ทรงทำลายกิเลสและตัณหาให้สิ้นไป  และทรงไม่เกิดอีก  เป็นการสิ้นชาติ  สิ้นภพ


วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เปิดบ้านอุมารคเณศวร (Home Aumadevi-Ganesh)






        มาร่วมสร้างบุญกุศลกับเราที่บ้านอุมารคเณศวร  ทำชีวิตให้ดีขึ้นได้ด้วยตัวเราเอง  เรายินดีให้คำปรึกษา  ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ เพราะหนทางที่เราแนะนำท่านนี้มีเพียงตัวท่านเองเท่านั้นที่เป็นผู้ได้รับผลบุญทั้งหลายทั้งมวลที่ท่านได้สร้างด้วยตัวของท่านเอง  เพื่อท่านจะได้พ้นทุกข์พบสุขที่แท้จริง (นิพพาน) ตามองค์ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า

        ชีวิตของมนุษย์ทุกคนที่เกิดขึ้นมาล้วนมีวิบากกรรมของคนแต่ละคน และแต่ละคนนั้นก็ต่างมีวิบากกรรมที่แตกต่างกันไป บางคนป่วยไม่รู้สาเหตุ บางคนตกงานตลอด บางคนก็มีชีวิตที่ลำบากมาก บางคนลูกไม่ดี  บางคนหากินไม่คล่อง ทุกเรื่องราวเหล่านี้ล้วนเป็นวิบากกรรมของคุณที่ตามมาหลายภพ หลายชาติ  ซึ่งภพชาติก่อน ๆ  ก็ล้วนทำให้เกิดมาแตกต่างกัน  ดังนั้นหนทางในการแก้วิบากกรรมมีหลายทาง  มีหลายวิธี

         หากจะสังเกตให้ดี  เมื่อเวลาที่เราทำบุญหรือทำความดีอะไรก็ตาม  ทุกครั้งก็จะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น และสบายใจ เรียกว่า บุญ เช่น

 ใส่บาตร ถือศีล กินเจ
 ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
 ทำความสะอาดห้องพระ
 ถวายน้ำเปล่า 1 แก้ว ที่หิ้งพระ
 ถวายดอกไม้  ธูป  เทียน
 ถวายสังฆทาน
 ร่วมงานปิดทองฝังลูกนิมิต
 สวดมนต์ ไหว้พระ  แผ่เมตตา
 กราบบิดามารดา  ระลึกถึงคุณของบิดามารดา
 ปล่อยสัตว์   ปล่อยปลาลงน้ำ
 ทำบุญวันเกิด
 ดูแลคนคนชรา  ดูแลเด็ก ฯลฯ

                    ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นมหากุศลทั้งสิ้น  การทำบุญให้อธิษฐานจิตแผ่บุญกุศลทุกครั้ง เพื่อนำส่งผลบุญให้ตนเอง ได้มีชีวิตที่ดีขึ้น เจริญขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

พระแม่อุมาเทวี (Aumadavi)

พระแม่อุมาเทวี เทวีแห่งพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่

            พระแม่อุมาเทวี   (เทวนาครี)  หรือ  พระศรีมหาอุมา  หรือ  ปารวตี   เป็นธิดาของท้าวหิมวัตและพระนางเมนกา พระแม่อุมาเป็นชายาขององค์พระศิวะบรมเทพแห่งสวรรค์
         มีพระโอรส 2 พระองค์ คือ 
                  1.    พระบรมเทพขันทกุมาร ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการสงคราม
                  2.    พระบรมเทพศรีมหาคเณศวร ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการขจัดอุปสรรคทั้งมวล


พระแม่อุมานั้นทรงมีหลายปางด้วยกัน  แต่ปางที่เป็นที่รู้จักมาก คือ


    ถ ปางพระแม่กาลี (พระนางกรีกกาลราตรี)
                       โดยมีลักษณะดังนี้ มี 10 พระกร  ถืออาวุธครบมือ แลบลิ้นยาวถึงทรวงอก เครื่องประดับเป็นหัวกระโหลก สังวาลเป็นงู มีลักษณะดุร้าย


   ถ ปางพระศรีมหาทุรคาเทวี (พระแม่ทุรคา)
                       โดยมีลักษณะดังนี้ มี 10 พระกร มีพระเนตร 3 ดวง ลักษณะดุ  ทรงประทับอยู่บนหลังเสือ หรือ สิงโต  เทศกาลที่มีการบูชาพระแม่อุมา คือ เทศกาลนวราตรีคุเซราห์


             บางตำนานกล่าวว่า พระแม่อุมา เดิมกำเนิดในร่างมนุษย์ นามว่า สตี เป็นธิดาของพระทักษะประชาบดี พระนางสตีได้ทรงเป็นชายาของพระศิวะ ที่ทรงอวตารลงมาในภาคของมุนีภพ ไว้ผมหนวดเครารุงรัง นำกระดูกมาร้อยเป็นสังวาลย์สวมคอ นอนตามป่าช้า มีกลิ่นตัวเหม็นสาบ เป็นที่รังเกียจของพระทักษะประชาบดี แต่ด้วยบารมีของพระนางสตี จึงมองเห็นรูปกายที่แท้จริงว่าพระมุนีองค์นี้ ว่าเป็นภาคหนึ่งขององค์พระศิวะ
            ด้วยความรังเกียจลูกเขยซึ่งเป็นพระสวามีของพระนางสตี พระทักษะประชาบดี จึงได้ลบหลู่เกียรติของพระศิวะในงานพิธี พระนางสตีจึงทรงเข้าตบะเพื่อขับเพลิงออกมาจากร่าง เพื่อสังหารพระองค์เอง (บางตำรากล่าวว่า พระนางกระโดดเข้ากองไฟ) ด้วยความพิโรธกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พระศิวะทรงส่งอสูรชื่อ วีรภัทร ไปทำลายงานพิธี และตัดศีรษะของพระทักษะประชาบดี  เหล่าองค์เทพฯ และครอบของพระทักษะประชาบดีได้ทรงอ้อนวอนและกล่าวขอโทษแทน  พระศิวะจึงทรงต่อคืนศีรษะให้ด้วยหัวแพะที่ใช้บูชายัญในพิธีนั้น พระศิวะทรงเศร้าโศกเสียใจด้วยความรักที่มีต่อพระนางสตี  พระองค์จึงทรงพาร่างของพระนางสตีออกไปจนสุดจักรวาล  และหลังจากนั้นพระศิวะได้ทรงบำเพ็ญพรตบารมีอยู่เป็นเวลานาน  ต่อมาพระนางสตีได้กลับมาเกิดเป็นธิดาของท้าวหิมวัตและพระนางเมนกา และเป็นชายาของพระศิวะอีกครั้ง  ในร่างของพระอุมาเทวี (ปารวตี)

            ชาวอินเดียที่นับถือพระศิวะ และพระแม่อุมา   จึงมีพิธีกรรมที่เรียกว่า สตี เมื่อสามีเสียชีวิต ภรรยาจะฆ่าตัวตายตามโดยกระโดดเข้ากองไฟ เพื่อบูชาความรักและการเสียสละของพระนางสตี ที่มีต่อพระศิวะ ในบางครั้งภรรยาของผู้ตายไม่ยินยอมเข้าพิธีสตี ก็ยังถูกญาติพี่น้องของสามี  บังคับให้เผาตัวตายตาม  พิธีบูชายัญนี้ถูกระงับไปเมื่ออินเดียตกอยู่ในการปกครองของอังกฤษ  ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18


พระแม่อุมาเทวี เทพแห่งชัยชนะ
ชายาแห่งพระศิวะ มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่
            พระแม่อุมาเทวี... เจ้าแม่อุมา หรือ ปารวตี   คือพระนามแห่งพระแม่ผู้เป็นใหญ่ในจักรวาล เป็นเทวีแห่งอำนาจวาสนา  และบารมีอันสูงสุด พระองค์ทรงประทาน ยศถาบรรดา ศักดิ์ และความเป็นใหญ่แก่ผู้หมั่นบูชาต่อพระองค์อย่างสม่ำเสมอ..!!!

            อำนาจแห่งพระแม่อุมานั้น ยิ่งใหญ่หาสิ่งใดเทียบได้ พระองค์ทรงประทานชัยชนะเหนือศัตรู ประทานกำลังวังชาแห่งอิสตรี ทำลายสิ่งชั่วช้า ตลอดจนประทานบริวารและอำนาจในการปกครอง พระองค์ยังทรงประทานพรด้านความสมบูรณ์ ความอิ่มเอม ความผาสุขในการครองเรือน ครอบครัวที่เปี่ยมสุข ตลอดจนการคุ้มครองผู้ศรัทธาให้ปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง


              พระแม่อุมา ทรงเป็นมารดาแห่ง พระขันธกุมารและพระพิฆเนศ... เป็นชายาแห่ง พระศิวะ มหาเทพผู้ทำลายโลก 1 ใน 3 แห่ง พระตรีมูรติ   พระแม่อุมาจึงเป็น 1 ใน 3  แห่งพระตรีศักติ ด้วย (ตรีศักติ หมายถึง พระแม่ทั้งสาม ได้แก่ พระแม่อุมา  พระแม่ลักษมี  พระแม่สุรัสวตี) พระองค์มีวิมานสถิต ณ เขาไกรลาส เช่น เดียวกับพระศิวะเทพ มีสัญลักษณ์ประจำพระองค์คือ โยนี (ฐานรองศิวลึงก์)  มีทิพยรูปเป็นหญิงที่งดงาม เปี่ยมไปด้วยความเมตตา เป็นมารดาแห่งสรรพชีวิตทั้งปวง ฉลองพระองค์ด้วยอาภรณ์หลากสีสัน ประดับด้วยทองคำอย่างวิจิตร



พระแม่อุมาเทวี
            พาหนะแห่งพระแม่อุมาเทวี คือ เสือ อันหมายถึง พลังอำนาจความยิ่งใหญ่ และความสง่างาม

ศาสตราวุธ  แห่งพระแม่อุมาเทวี  คือ
         - ตรีศูล  เป็น สัญลักษณ์แห่งการปราบปรามสิ่งชั่วร้าย
         - ดาบ    คือ สัญลักษณ์แห่งความเฉียบขาด เป็นผู้ตัดสิน และอยู่เหนือผู้อื่น
     
       พระแม่อุมาเทวี  (เจ้าแม่อุมา)  มี อวตารอยู่หลายปาง ปางที่สำคัญที่สุดอีก 2 ปางจากพระแม่อุมา คือ ปางพระแม่ทุรคา (ทุรกา) และ ปางพระแม่กาลี (เจ้าแม่กาลี) อ่านได้จากบทความตำนานพระแม่ทุรคาและพระแม่กาลี ในบทต่อๆไป


                 อีกปางหนึ่งที่อยากแนะนำ แต่ไม่ค่อยมีคนไทยรู้จัก นั่นคือ ปางพระแม่อุมาตากี  คือการอวตารของพระแม่อุมาเทวี  ที่รวมเอาพระแม่อีก 2 พระองค์เข้าไว้ด้วย คือ พระแม่อุมา พระแม่ลักษมี พระแม่สุรัสวดี   ได้อวตารรวมเป็นร่างเดียวกัน  เหมือนกับพระตรีมูรติ นิยมนับถือกันในหมู่ผู้นับถือนิกายศักติ  หรือนิกายที่นับถือเฉพาะเทพสตรีทั้ง  3  พระองค์ว่ายิ่งใหญ่เหนือกว่า  พระพรหม  พระวิษณุ  พระศิวะ  อันเป็นเทพบุรุษสูงสุดแห่งศาสนาพราหมณ์-ฮินดู